บุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ผู้นำทางวิชาการ
ความหมายของการเรียนรู้
... มนุษย์ต้องเรียนรู้ที่จะพูดเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่นรอบข้าง เรียนรู้ที่จะเดิน เล่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ และกระทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต นักจิตวิทยาเชื่อว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
- การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
- การเรียนรู้เป็นผลมาจาการฝึกฝน
-การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเกิดเป็นนิสัย มิใช่การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมชั่วคราวเท่านั้น
- การเรียนรู้มิอาจสังเกตได้โดยตรง เราทราบแต่การกระทำที่เกิดจากการเรียนรู้แล้วเท่านั้น
อ้างอิงจาก eduthaibook.com/archives/292
ความหมายของผู้นำ
- ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง
- ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวม ถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
- ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
- ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
อ้างอิงจาก http://www.baanjomyut.com/library/leadership/
ความหมายของวิชาการ
วิชาการเป็นบันไดที่จะทำให้คนก้าวขึ้นไปสู่ที่สูงนอกจากนั้นส่วนใหญ่มักสะท้อนผลกลับลงมาทับถม ทำให้คนระดับล่างได้รับการดูถูกดูแคลน
ส่วนผู้ที่ยืนอยู่ระดับล่างย่อมมี 2 ด้านเช่นกัน ด้านหนึ่งแม้ถูกดูถูกแต่ก็ไม่สนใจ หากกลับทำให้เกิดความรู้สึกรักศักดิ์ศรีความเป็นคนลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งคนลักษณะนี้ มีรากฐานความเป็นตัวของตัวเองที่เข้มแข็งมาก จึงรู้สึกว่ากระแสการดูถูกดูแคลนจากผู้อื่นมีผลส่งเสริมให้ตนหยั่งรู้คุณค่าความเป็นคนลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ส่วนอีกด้านหนึ่ง ผู้ซึ่งได้รับการดูถูกดูแคลน มีผลทำให้เกิดปมด้อย จึงคิดตะเกียกตะกายขึ้นไปสู่ด้านบน เพื่อให้ตนได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ซึ่งทิศทางที่มุ่งไปสู่ด้านนี้ ย่อมทำให้แต่ละคนมีนิสัยทับถมหรือเบ่งใส่คนอื่นเพิ่มมากขึ้น
หากตั้งคำถามๆ ใจตัวเองว่า เราแต่ละคนคิดจะมุ่งวิถีชีวิตเดินไปสู่ทิศทางไหน เพื่อให้ตนมีความสุข และได้รับการยอมรับจากสังคมร่วมด้วย
แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
... แหล่ง การเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีรูปแบบที่หลากหลาย และไม่เป็นทางการ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงลักษณะของแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จึงต้องทำความเข้าใจว่า แม้ว่าเราไม่สามารถจับตัวตนของการศึกษาตามอัธยาศัยได้ชัดเจนแน่นอน แต่เราก็รู้ว่ามีการศึกษาชนิดหนึ่งอยู่จริงที่ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ การที่เราไม่สามารถจัดการให้การศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีรูปแบบชัดเจนแน่นอน เพราะธรรมชาติของการศึกษาชนิดนี้เป็นลักษณะที่ไม่ชัดเจนแน่นอน และยิ่งเมื่อเอากรอบความคิดเรื่องการศึกษาที่จะต้องมีความชัดเจนในเรื่อง วัตถุประสงค์ หรือเป้าประสงค์ของการศึกษา หลักสูตรวิธีการเรียนการสอน ครู สื่อ วิธีการวัดผลประเมินผล ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ทางการศึกษา
อ้างอิงจาก http://2educationinnovation.wikispaces.com
เนื้อหาแล้วได้ใจความมากค่ะ ตกแต่งได้สวยงาม เนื้อหาครบถ้วนมากๆค่ะ
ตอบลบ